เป้าหมายรายสัปดาห์
: นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ สระ
วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑
๑๖
– ๒๐
พ.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก
หลักภาษา
: พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
Key
Questions :
- นักเรียนเห็นอะไรจากภาพบ้าง คิดว่าเรื่องราวน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
- ถ้านักเรียนนึกถึงนิทาน
นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าเรื่องราวใน
นิทานสระสนุกจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้
และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
-
Blackboard Share : สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
-
Show and Share : การนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการเล่นเกมจับคู่
- Round
Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้
(นิทาน)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
ห้องเรียน
-
บัตรภาพ/บัตรคำ
- หนังสือนิทานสระสนุก
|
วันจันทร์
ชง : - ครูและนักเรียนทักทาย แนะนำตัวกันในวันเปิดเรียนวันแรก
สร้างฉันทะและสร้างแรงบันดาลใจ
- ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพเกี่ยวกับนิทาน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากภาพบ้าง คิดว่าเรื่องราวน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร” เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับนิทานพร้อมวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนนึกถึงนิทาน
นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เพราะเหตุใด ”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
วันพุธ
ชง : ครูแนะนำหนังสือนิทาน ”นิทานสระสนุก” และใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าเรื่องราวในนิทานสระสนุกจะเป็นอย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้
และเขียนแผนภาพความคิดสรุปเรื่องราวตามความเข้าใจ
วันพฤหัสบดี
ชง : เล่นเกมจับคู่ โดยครูจากแจกบัตรคำ
และบัตรภาพที่เข้าคู่กันให้นักเรียนแต่ละคนไม่ซ้ำกัน
(บัตรพยัญชนะ/สระ/วรรณยุกต์)
กติกา : เมื่อนักเรียนได้บัตรภาพหรือบัตรคำแล้ว ให้นักเรียนหันด้านที่เป็นคำหรือภาพออก เมื่อครูบอกให้จับคู่กัน ให้นักเรียนดูบัตรภาพหรือบัตรคำของเพื่อนที่คิดว่าเข้าคู่กัน แล้วเดินไปนั่งข้างๆ ทำอย่างนี้จนครบทุกคู่ เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเกมจับคู่ - นักเรียนที่จับคู่กัน นำเสนอบัตรคำหรือบัตรภาพที่คู่ตนเองได้ แล้วบอกว่าสิ่งที่ได้คืออะไร อ่านว่าอย่างไร
ใช้ : นักเรียนทำใบงาน (เติมพยัญชนะ สระ
และวรรณยุกต์ให้สมบูรณ์)
วันศุกร์
หยุดวันวิสาขบูชา
|
ภาระงาน
- การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การวิเคราะห์
สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
-
การสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ชิ้นงาน
-
เขียนคาดเดาเรื่อง
-
แผนภาพความคิดสรุปเรื่องราว
- ใบงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
|
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
![]() |
พี่ๆ เขียนคำศัพท์ที่ตัวเองรู้จัก |
![]() |
พี่ๆ นำพยัญชนะที่ตัวเองชอบมาเขียนเป็นคลังคำศัพท์ |
![]() |
แบ่งกลุ่มแล้วนำบัตรภาพมาให้พี่ๆ เขียนเติมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง |
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ครูทำการสอน วันแรกครูทักทายพี่ๆ และให้พี่ๆแนะนำตัว ลองให้พี่ๆคาดเดาเรื่องราวจากปกนิทานสระสนุก ใช้คำถามว่า “พี่ๆเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง” คำตอบที่ได้ก็จะหลากหลาย วันอังคารลองให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่ตนเองรู้จักให้ได้อย่างน้อย 10 คำขึ้นไป พี่ๆเขียนได้คล่อง แต่อาจมีสะกดผิดบ้าง และบางคนยังใช้เวลานานในการทำงานอยู่ วันพุธครูให้พี่ๆฝึกออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้อง และให้พี่ๆเลือกพยัญชนะตัวที่ชอบมา 4 ตัว นำมาเขียนแตกย่อยออกไปเป็นคำศัพท์ที่พี่ๆรู้จัก วันพฤหัสบดี วันนี้ชงด้วยการพาพี่ๆทำท่าทางประเพลงกรรไกร ไข่ ผ้าไหม พี่ๆดูสนุกแลละชอบกิจกรรมนี้ จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มทำงาน โดยครูจะมีบัตรภาพให้กลุ่มละ 5 คำ และกระดาษเปล่าชิ้นเล็กๆ ให้พี่ๆเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง ตามความเข้าใจของพี่ๆ พี่ๆแบ่งหน้าที่การทำงาน และทำงานเสร็จตามเวลา ครูให้พี่ๆนำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตัวเองให้เพื่อนๆฟัง ครูจะเขียนคำศัพท์ที่กลุ่มพี่ๆได้ไว้บนกระดาน เพื่อที่เวลาว่างพี่ๆจะได้มาตรวจเช็คความถูกต้องอีกรอบ ปัญหาที่พบ คือครูยังใหม่ ทำตัวไม่ถูก ใช้คำถามและการพูดยังไม่ค่อยคล่อง การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแบบแผน พยายามปรับให้ยืดหยุ่นเข้ากับพี่ๆให้ได้มากที่สุด
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ครูทำการสอน วันแรกครูทักทายพี่ๆ และให้พี่ๆแนะนำตัว ลองให้พี่ๆคาดเดาเรื่องราวจากปกนิทานสระสนุก ใช้คำถามว่า “พี่ๆเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง” คำตอบที่ได้ก็จะหลากหลาย วันอังคารลองให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่ตนเองรู้จักให้ได้อย่างน้อย 10 คำขึ้นไป พี่ๆเขียนได้คล่อง แต่อาจมีสะกดผิดบ้าง และบางคนยังใช้เวลานานในการทำงานอยู่ วันพุธครูให้พี่ๆฝึกออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้อง และให้พี่ๆเลือกพยัญชนะตัวที่ชอบมา 4 ตัว นำมาเขียนแตกย่อยออกไปเป็นคำศัพท์ที่พี่ๆรู้จัก วันพฤหัสบดี วันนี้ชงด้วยการพาพี่ๆทำท่าทางประเพลงกรรไกร ไข่ ผ้าไหม พี่ๆดูสนุกแลละชอบกิจกรรมนี้ จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มทำงาน โดยครูจะมีบัตรภาพให้กลุ่มละ 5 คำ และกระดาษเปล่าชิ้นเล็กๆ ให้พี่ๆเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง ตามความเข้าใจของพี่ๆ พี่ๆแบ่งหน้าที่การทำงาน และทำงานเสร็จตามเวลา ครูให้พี่ๆนำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตัวเองให้เพื่อนๆฟัง ครูจะเขียนคำศัพท์ที่กลุ่มพี่ๆได้ไว้บนกระดาน เพื่อที่เวลาว่างพี่ๆจะได้มาตรวจเช็คความถูกต้องอีกรอบ ปัญหาที่พบ คือครูยังใหม่ ทำตัวไม่ถูก ใช้คำถามและการพูดยังไม่ค่อยคล่อง การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแบบแผน พยายามปรับให้ยืดหยุ่นเข้ากับพี่ๆให้ได้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น