เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

Week
Input
Process
Output
Outcome
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา
หลักภาษา  :  มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา
Key Questions :
- ทำไมเด็กๆถึงชอบฟังนิทาน แล้วชอบฟังนิทานประเภทไหนกันบ้าง
 - นักเรียนจะเขียน และสะกดคำให้ถูกต้องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
- Show and Share : นำเสนอคลังคำศัพท์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
-
ห้องเรียน
- บัตรคำ
- นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา

วันจันทร์
ชง : - ครูนำบัตรภาพที่เกี่ยวกับนิทานมาให้นักเรียนสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่านิทานเกิดจากอะไร ทำไมต้องเล่านิทาน”
      - ครูอ่านนิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  แต่งนิทานใหม่ตามจินตนาการต่อจากผู้เฒ่า(ผู้เฒ่าจะเล่าเรื่องอะไร) พร้อมวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง : - ครูให้บัตรคำ(แม่ ก กา)นักเรียนคนละใบ พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้ มีความเหมือน – ต่างกันอย่างไร สามารถจัดหมวดหมู่ได้หรือไม่”
       - นักเรียนจับกลุ่มนำคำที่ได้มาเรียงต่อเป็นประโยค
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับประโยคที่นักเรียนนำคำมาต่อกัน นักเรียนใช้หลักอะไรในการเรียงคำให้เป็นประโยค ดูจากอะไร
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนเขียนประโยคที่เรียงกันสมบูรณ์ลงในสมุดบันทึก
วันพุธ
ชง :  ครูให้นักเรียนเขียนตามคำบอก(คำพื้นฐานที่คำในมาตราตัวสะกดตรงมาตรา) จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ โดยให้นักเรียนเขียนคำที่ถูกต้องไว้ด้านหลังคำที่เขียนผิด
        - นักเรียนจัดหมวดหมู่คำที่เขียนเป็น คำที่สะกดด้วย ง , ม , ย และ ว        
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูเขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์ไว้บนกระดาน แล้วนำบัตรคำที่เป็นคำตอบวางกระจายไว้รอบๆห้องเรียน
      -
นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนหาคำตอบที่อยู่รอบๆ ห้องเรียน ครั้งละ ๑ คน ทำไปเรื่อยๆ จนครบประโยค
เชื่อม :  ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมเติมประโยค และตรวจคำที่ถูกต้องพร้อมๆ กัน  
ใช้ : นักเรียนทำใบงานเรียงประโยค โดยครูแยกเป็นคำๆ ให้นักเรียนนำมาเรียงใหม่เอง ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ แยกเป็นคลังคำของตนเอง โดยแยกเป็นคำที่สะกดด้วย แม่กง ,แม่กม ,แม่เกย และแม่เกอว ลงในกระดาษตัวหนอนที่ครูแจกให้
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- นิทานตอนจบใหม่
- คลังคำศัพท์ตัวสะกดที่ตรงมาตรา
- ใบงานเรียงประโยค

ความรู้ : เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม














ตัวอย่างภาพชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านนิทานเล่มใหม่ พี่ๆให้ความสนใจมาก หลังจากอ่านเสร็จ จึงให้พี่ๆ วาดหน้าปกเป็นของตนเอง จริงๆ แล้วสัปดาห์นี้จะต้องลงเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตรา แต่ยังไม่สามารถลงได้ เลยให้พี่ๆเรียนรู้ และเขียนคำศัพท์จากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว อย่างวันพุธ พี่ๆ ได้ไปเก็บต้นอ่อนทานตะวัน ก็ให้พี่ๆ เขียนว่าทานตะวันมีประโยชน์อย่างไร ดูแลอย่างไร และสามารถแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ในวันพฤหัสบดีได้นิทานเรื่องใหม่มาพอดี เลยให้อิสระพี่ๆ อ่านด้วยตัวเอง แล้วให้พี่ๆ ออกมาวาดหรือเขียนตัวละครที่อยู่ในเรื่อง วันศุกร์ให้พี่ๆ เขียนคำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะ ม ง ย ว จากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ให้อิสระจะเขียนข้างนอกหรือข้างในก็ได้ แล้วมาแชร์ร่วมกันบนกระดานอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการสอนอาจจะไม่ได้ตามแผนทุกอย่าง แต่พยายามให้มีบ้าง เน้นการอ่านและเขียนพื้นฐานๆก่อน

    ตอบลบ