เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำควบกล้ำ แยกคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ได้  สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๗ – 
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก ตอน ยักษ์ขี้โมโห
หลักภาษา  : คำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
Key Questions :
- ทำไมเด็กๆถึงชอบฟังนิทาน แล้วชอบฟังนิทานประเภทไหนกันบ้าง
 - นักเรียนจะเขียน และใช้คำควบกล้ำอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพคำควบกล้ำ
- นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา

วันจันทร์
ชง : - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการพูดเสียงดังเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร”
      - ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน ยักษ์ขี้โมโห ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  เขียนคำศัพท์สระ เอะ ลงในสมุดบันทึก พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง :  ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน พร้อมกับบัตรคำที่เป็นคำควบกล้ำ พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำภาพและคำเหล่านี้ มาทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้าที่พบเจอในชีวิตประจำวัน และการนำคำควบกล้ำไปใช้
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนแต่งนิทานจากบัตรภาพและบัตรคำที่ตนเองเลือกพร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง :  จับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๒ กลุ่ม เล่นเกมใบ้คำจากบัตรภาพที่ครูกำหนดให้ (คำควบกล้ำ)

เชื่อม :  - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำที่ใช้ในการเล่นเกม และนักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่คำควบกล้ำแท้ – คำควบกล้ำไม่แท้
         - นักเรียนเขียนคลังคำศัพท์เป็นของตนเอง (คำควบกล้ำ)
วันพฤหัสบดี
ชง : จับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๔ กลุ่ม ครูนำนิทานอีสป ๔ เรื่อง มาให้นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำในนิทานจำนวน คำ
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ – คำควบกล้ำไม่แท้ที่แต่ละกลุ่มหาเจอจากนิทานอีสป
ใช้ :  นำคำควบกล้ำที่ได้มาเขียนการ์ตูน ๓ ช่อง
วันศุกร์
ชง : - นักเรียนนำเสนองานการ์ตูนช่องของตนเอง
        -
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และผลงานที่ร่วมกันแชร์ของนักเรียน
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพความคิด
- ใบงาน
- สมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำควบกล้ำ แยกคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ได้  สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม




ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
 






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.๑ มีกิจกรรมทัศนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ บ้านหนองตาเข้ม อำเภอนางรอง ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับผัก สมุนไพรพื้นบ้าน และเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นในสัปดาห์นี้ นอกจากอ่านนิทาน และลงหลักภาษาแล้ว พี่ๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรนานาชนิด เชื่อมโยงกับภาษาไทยโดยครูจะหาคำศัพท์ที่เป็นคำควบกล้ำที่มีชื่อผัก และสมุนไพรมาสอนพี่ๆด้วย กิจกรรมที่ลงหลักภาษาในสัปดาห์นี้ ก็จะมีให้พี่ๆเดินเขียนคำศัพท์คำควบกล้ำที่ครูติดอยู่รอบๆห้อง แล้วลองสังเกตคำ และช่วยกันสะกด อ่านออกเสียงคำเหล่านั้น ครูลองชงโดยใช้คำถามกับพี่ๆหลายๆคำถาม แต่พี่ๆก็ยังไม่รู้ว่าคำเหล่านี้คือคำอะไร แต่จะออกเสียงควบสะกดได้ถูก แต่ยังบอกไม่ได้ว่าคือคำอะไร และอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ เล่นเกมบิงโกคำควบกล้ำ พี่ๆสนุกสนานกันมาก หลังเล่นเสร็จก็ให้พี่ๆออกมาเติมคำที่ครูติดไว้บนกระดานให้สมบูรณ์ เช่น ป_า ,ตะไ_ _ ,มะ_ _ าว เป็นต้น และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เนื่องจากเวลาไม่พอทำให้ไม่ได้ทำงาน ในสัปดาห์นี้จะให้พี่ๆเน้นเรื่องการอ่านและฝึกเขียน อยากให้พี่ๆได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียนเยอะๆ เพราะพี่ๆยังมีปัญหารื่องนี้อยู่เป็นส่วนใหญ่

    ตอบลบ