เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week9

เป้าหมาย : เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๑ ๑๕
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง
หลักภาษา  :  มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าของเล่นเกิดจากอะไร ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมา แล้วนักเรียนสามารถทำเองได้หรือไม่
- นักเรียนจะเขียน และสะกดคำให้ถูกต้องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 
- Blackboard  share : เติมคำศัพท์ให้สมบูรณ์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
- นิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง
วันจันทร์
ชง : ครูอ่านนิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  นักเรียนเขียนชื่อของเล่นที่ตนเองชื่นชอบและบอกเหตุผล พร้อมวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง : นักเรียนเขียนคำศัพท์จากบัตรภาพ จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
- นักเรียนร่วมกันสังเกต พร้อมกับจัดหมวดหมู่คำศัพท์เหล่านี้
-
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่ได้จัดหมวดหมู่ นักเรียนคิดว่าจะจัดได้อย่างไร ใช้หลักการใดในการจัด
วันพุธ
ชง :  นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกมเติมพยัญชนะ คำที่อยู่บนกระดาน
เชื่อม :  ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากเล่นเกม สังเกตคำและนำมาเขียนลงในสมุดคำศัพท์ที่ทำเอง
ใช้
: นักเรียนทำสมุดคำศัพท์ แล้วเขียนคำที่ใช้ในการเล่นเกมลงไป พร้อมเพิ่มเติมคำศัพท์ให้เต็ม วาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันพฤหัสบดี
ชง : นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง โนมีหนีออกจากบ้าน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
 : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  นักเรียนเล่าเรื่องราวต่อกันจนจบเรื่อง

วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- ของเล่นที่ชื่นชอบ
- คำศัพท์จากบัตรภาพ
- สมุดคำศัพท์
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม










ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



 




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้พี่ ป.๑ ได้เรียนรู้การเขียนคำศัพท์จากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเป็นส่วนใหญ่ วันแรกให้อ่านนิทานเรื่อง ของเล่นทำเอง พี่ๆ วาดภาพของเล่นที่ตนเองชื่นชอบ พร้อมบอกเหตุผลที่ชอบ ให้พี่ๆ ลองเขียนด้วยตัวเอง วันต่อมาให้พี่ๆ เขียนคำศัพท์จากสิ่งที่เห็น คล้ายๆ กับการเขียนตามคำบอก แต่เปลี่ยนวิธีเป็นเขียนตามสิ่งของที่ครูนำมาให้ดู อย่างเช่น หมวก ดินสอ ยางลบ ร่ม ตะกร้า นม ไม้ ลูกปัด เป็นต้น สิ่งของที่นำมานั้น เป็นของที่อยู่รอบๆ ตัว และเห็นทุกวันอยู่แล้ว จึงอยากให้พี่ๆ รู้จักคำศัพท์ไปด้วย จากคำศัพท์ที่พี่ๆ ได้เขียน วันต่อมาจึงให้พี่ๆ ได้ลองแต่งนิทานโดยนำคำศัพท์ที่เขียนเมื่อวาน มาอย่างน้อย ๓ คำ พี่ๆ บางคนเขียนเองได้โดยที่คนไม่ต้องบอก แต่อาจมีคำผิดอยู่บ้าง สำหรับพี่ๆ ที่ยังเขียนได้ไม่คล่อง ส่วนใหญ่คำไหนที่ไม่รู้จักก็จะถามครูเพื่อความแน่ใจตลอด ตอนนี้ปัญหาคือ พี่ๆ ส่วนใหญ่ยังจำสระไม่ค่อยได้ ทำให้เวลาสะกด สะกดผิด และเขียนออกมาไม่ได้ จะเห็นได้ชัดเจนเวลาให้เขียนตามคำบอก บางคนไม่ชอบ และแสดงออกมาทางสีหน้าชัดเจน แต่เขาก็ต้องฝึกเขียน ดังนั้นตอนที่ให้เขียน ครูจึงบอกอยู่เสมอว่าเขียนเลย ผิดถูกไม่เป็นไร แล้วเราค่อยมาตรวจคำตอบพร้อมกันอีกที

    ตอบลบ