เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนสระคงรูป สระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาวได้ สามารถนำมาแต่งประโยค เขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๓๐
มิ..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษ
หลักภาษา  : สระคงรูป สระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาว
Key Questions :
- เพราะเหตุใด ทำไมคำบางคำมีทั้งรูปและเสียง บางคำมีแต่เสียงไม่มีรูปปรากฏ
 - นักเรียนจะรู้ว่าคำใดใช้สระคงรูป ลดรูป แปลงรูปได้อย่างไร สังเกตจากสิ่งใด
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และสระในภาษไทย
- Show and Share : นำเสนอจรวดสระลดรูป
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
- ไม้เท้าสระ อี
- กระดาษ
นิทานสระสนุก ตอนแมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษ

วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
วันอังคาร
ชง : - ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนดูและอ่านออกเสียงคำนั้น
      - เล่นเกมสะกดคำ โดยครูแจกบัตรคำพยัญชนะให้นักเรียนทุกคน แล้วครูจะใช้ไม้เท้าสระ อี ชี้ไปที่ใครให้สะกดคำแล้วบอกว่าคำนี้อ่านว่าอะไร แล้วมีความหมายหรือไม่
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ และสระทั้งหมดในภาษาไทย(เสียงสั้น เสียงยาว)
ใช้ : นักเรียนเขียนแยกสระเสียงสั้น / สระเสียงยาวลงในสมุด
วันพุธ
ชง : ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเลือกสระเป็นของกลุ่มตนเอง เช่น ,- , - ,- ,- ฯลฯ
- ให้แต่ละกลุ่มออกมาเขียนคำศัพท์ตามสระที่กลุ่มตนเองเลือกให้ได้มากที่สุด
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากการเล่นเกม
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์จากสระที่ตนเองเลือกลงในสมุด
วันพฤหัสบดี
ชง :  นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำจากในนิทาน เรื่องแมวน้อยน้อยกับไม้เท้าวิเศษ
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบที่เขียนตามคำบอก
ใช้ : นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่เขียนมาแต่งประโยค
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ

ภาระงาน
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
- เขียนแยกสระเสียงสั้น-เสียงยาว
- เขียนคำศัพท์จากสระที่เลือก
- แต่งประโยค
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่านและเขียนสระคงรูป สระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาวได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน





ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างผลงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    อาทิตย์นี้พี่ๆ ได้อ่านนิทาน ๒ วัน คือวันจันทร์ ให้อ่านออกเสียงตามครูทีละวรรค มีพี่ๆที่สนใจและตั้งใจอ่าน มีอ่านตามเพื่อนบ้าง และยังมีพี่ที่อ่านสะกดคำยังไม่ได้ ดังนั้นครูจึงเพิ่มการอ่านอีกวันคือวันศุกร์ ในวันนี้ครูให้พี่ๆแยกเป็นสองกลุ่มในการอ่าน เพื่อที่ครูจะได้รู้ว่าพี่ๆแต่ละคนสามารถอ่านได้ประมาณไหน ปัญหาในการอ่านที่พบคือ พี่ๆบางคนยังอ่านสะกดคำไม่ได้ ครูต้องสะกดให้แล้วให้พี่ออกเสียงตาม มีพี่ที่อ่านได้แต่ช้า และมีที่อ่านได้คล่อง ในเรื่องการทำงานก็เช่นกัน มีทำเสร็จตามเวลาที่ครูกำหนด และช้าจนเลยเวลา ต้องทำต่อในเวลาที่ว่างแทนให้เสร็จ จากการสังเกตพี่ๆทำได้ เขียนได้แต่ยังห่วงคุย ห่วงเล่นอยู่ วันอังคารครูนำสระเสียงสั้น-เสียงยาวมาให้พี่ๆดู พร้อมกับออกเสียงให้ฟัง ให้พี่ๆลองสังเกตการออกเสียงของครูให้ชัดเจน มีพี่ๆตอบว่า “เสียงสระอะคะ”, “เสียงกว้างค่ะ” ครูออกเสียงอีกหลายๆครั้งจนมีพี่ที่ตอบตรงและใช่ พี่แก้ม “สระเสียงสั้น-สระเสียงยาวค่ะ” จากนั้นให้พี่ๆเลือกสระคนละ ๑ สระ แล้วบอกว่าตัวเองได้สระเสียงสั้นหรือเสียงยาว แบ่งเป็นสองฝั่งแข่งการออกเสียงสระให้ถูกต้อง พี่ๆสนุกกับกิจกรรมนี้มาก จากนั้นให้พี่ๆเขียนตารางสระเสียงสั้น – เสียงยาวลงในสมุด วันพุธให้นั่งตามกลุ่มแล้วแต่ละกลุ่มช่วยกันเลือกสระที่ชอบ ครูเขียนไว้บนกระดานจนครบทุกกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มออกมาเขียนคำศัพท์ตามสระของกลุ่มตนเองให้ได้มากที่สุด ครูและนักเรียนตรวจคำตอบและออกเสียงคำที่เขียน พร้อมเติมคำให้มีความหมายมากขึ้น ให้งานเขียนแบ่งที่เล่นเกม แต่ให้พี่ๆเติมคำเอง เพราะครูลบคำที่อยู่บนกระดานออกหมด วันพฤหัสสบดีครูไม่อยู่ฝากงานครูแดงไว้ วันศุกร์ให้อ่านนิทานทีละคน

    ตอบลบ