เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ถูกต้อง และแยกคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๐ – ๒๔
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ
หลักภาษา  :  คำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
Key Questions :
- นักเรียนมีกิจกรรมที่ชอบทำบ้างไหม อย่างเช่นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
- นิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ
วันจันทร์
ชง : ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนกิจกรรมยามว่างของตนเองลงสมุดบันทึก
                           วันอังคาร
ชง : ทบทวนกิจกรรมและจับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๒ กลุ่ม เล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำที่มีคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้จากการเล่นเกม (คำประวิสรรและไม่ประวิสรรชนีย์)
        - นำคำศัพท์มาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำประวิสรรชนีย์-คำไม่ประวิสรรชนีย์
ใช้ :  นักเรียนทำคลังคำศัพท์ประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์ จำนวน ๖ คำ
วันพุธ
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และให้นักเรียนเขียนตามคำบอก(คำพื้นฐานที่คำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์) จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ โดยให้นักเรียนเขียนคำที่ถูกต้องไว้ด้านหลังคำที่เขียนผิด
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการอ่านหนังสือมีประโยชน์อย่างไร”, “ถ้าอ่านหนังสือไม่ออกจะเกิดอะไรขึ้น”
-
ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน หนูนะกับหนูมะ ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราอ่านป้ายที่ติดอยู่ตามทางไม่ถูก จะเกิดอะไรขึ้น”
ใช้ : นักเรียนไปอ่านป้ายที่ติดไว้รอบๆ โรงเรียน โดยให้ออกเสียงและสะกดคำไปพร้อมๆ กัน
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,“นักเรียนรู้จักผักพื้นบ้านกี่ชนิด อะไรบ้าง
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันนี้นักเรียนจะต้องทำอาหารตามฤดูกาล ครูจึงทบทวนเรื่องผักพื้นถิ่นที่อยู่รอบๆตัวเรา
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์ผักที่นำมาทำอาหารในวันนี้ พร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพความคิด
- ใบงาน
- สมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ถูกต้อง และแยกคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




  ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





 


1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.1 ได้เรียนรู้คำที่มีสระเอือ สระอะ และคำศัพท์จากป้ายทั่วโรงเรียน วันจันทร์พี่ๆอ่านนิทานเรื่อง เสือขี้เบื่อ จากเรื่องก็จะได้คำศัพท์ที่มีสระเอือที่หลากหลาย ให้พี่ๆเลือกมาแล้วแต่งเป็นประโยคเกี่ยวกับวันที่น่าเบื่อ แล้วพี่ๆมีกิจกรรมไหนที่ทำให้หายเบื่อได้บ้าง วันอังคารเล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำที่มีคำสระอะ พี่ๆสนุกกับกิจกรรมนี้มาก จะดีมากถ้าพี่ๆทุกคนได้เล่นด้วยกันหมด วันพุธให้เขียนตามคำบอก โดยเอาคำพื้นฐานที่มีสระอะรวมอยู่ด้วย ให้พี่ๆลองเขียนไปก่อน เพื่อครูจะได้วัดว่าพี่ๆเขียนได้มากน้อยเพียงไร ควรแก้ไขเรื่องไหนบ้าง อย่างวันนี้ก็จะเห็นพี่ที่ยังไม่สามารถเขียนเองได้ เขียนได้บางคำ และเขียนได้เกือบทุกคำ คละๆกันไป วันพฤหัสบดีให้อ่านนิทานสระอะ เรื่องหนูนะกับหนูมะ จากนั้นให้พี่ๆออกไปอ่านป้ายที่ติดอยู่รอบๆโรงเรียน กิจกรรมที่ได้ออกนอกห้องเรียน พี่ๆจะให้ความร่วมมือเป็นพิเศษ และสนุกสนานกับการเรียนรู้มาก วันศุกร์ เนื่องจากวันนี้จะมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสามาทำอาหาร ซึ่งหน่วยอีสานบ้านเฮาในสัปดาห์นี้ก็เกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่น ดังนั้นครูจึงให้พี่ๆเขียนคำศัพท์จากผักที่เราได้เตรียมไว้ทำอาหาร เป็นการวัดการเขียนไปใตัว ในสัปดาห์นี้ไม่ได้สอนตามแผนการสอน แต่ปรับให้เข้าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น ยืดหยุ่นแผนตามสถานการณ์

    ตอบลบ